
เครื่องดื่มชูกำลังอาจทำให้คุณรู้สึกคึกคักแต่นั่นอาจทำให้หัวใจมีปัญหาได้
นักวิจัยพบว่าเครื่องดื่มให้พลังงานสามารถเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นในระดับที่ทำให้เกิดโรคได้
โดยมีผลวิจัยยืนยันจากการศึกษาผู้ใหญ่ในวัยหนุ่มสาวที่ไม่ได้รับประทานคาเฟอีนเป็นประจำที่นำเสนอโดย
American College of Cardiology ในปี
2014
การศึกษานี้ทีมงานวิจัยของ Dr. Anna Svatikova แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์สาขาโรคหัวใจและหลอดเลือดจาก
Mayo Clinic ได้ให้กลุ่มอาสาสมัครทดลองที่มีสุขภาพดีจำนวน 25
คนที่มีอายุตั้งแต่ 19 - 40 ปีดื่มเครื่องดื่มชูกำลังที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
1 กระป๋อง ในขณะที่อีกวันหนึ่งให้ดื่มเครื่องดื่มหลอก (placebo
drink) จากนั้นจึงทำการวัดอัตราการเต้นของหัวใจและวัดความดันโลหิตของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการดื่ม
ผลการทดลองพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความดันเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
3 %หลังจากดื่มเครื่องดื่มให้พลังงานซึ่งมากกว่าความดันโลหิตหลังการดื่มเครื่องดื่มหลอก
ผลกระทบจะมีมากที่สุดกับคนที่โดยปกติแล้วไม่ค่อยดื่มกาแฟในจำนวนที่มากกว่าถ้วยเล็กๆหรือไม่ได้ดื่มกาแฟเป็นประจำที่นักวิจัยเรียกว่ากลุ่ม
"caffeine-naive" ซึ่งจะมีความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้นเป็น
2 เท่าของคนที่ดื่มกาแฟหนึ่งถ้วยเป็นประจำทุกวัน
Sachin Shah ศาสตราจารย์ด้านเภสัชศาสตร์ของ
University of Pacific ในแคลิฟอร์เนียกล่าวว่าแม้ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่มันอาจส่งผลร้ายแรงขึ้นอยู่กับอายุและความดันโลหิตของคุณ
ความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นทันทีในระดับปานกลางอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของสุขภาพ
แต่ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
การเพิ่มขึ้นของความดันโลหิตในระดับปานกลางนี้ก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย
สำหรับคนทั่วๆไปความดัน systolic ที่เพิ่มขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญ
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่า
เป็นเพราะคาเฟอีน ,ทอรีนหรือส่วนผสมอื่น ๆ
ที่พบได้ในเครื่องดื่มให้พลังงานที่อาจส่งผลเสียต่อหัวใจ
งานวิจัยแยกอีกชิ้นหนึ่งจาก David Grant แพทย์จากกองทัพอากาศที่นำเสนอในงานประชุม
American Heart Association ที่มีเนื้อหากล่าวถึงผลการศึกษาในอาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ดื่มเครื่องดื่มให้พลังงานแล้วมีความดันโลหิตสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการดื่มกาแฟที่มีปริมาณคาเฟอีนเท่ากัน
ทำให้รู้ว่าส่วนผสมอื่นๆในเครื่องดื่มชูกำลังที่ไม่ใช่คาเฟอีนคือสาเหตุหลักในการทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
จากการอ้างอิงของ Mayo Clinic ทำให้รู้ว่าการบริโภคคาเฟอีนในปริมาณ
400 มิลลิกรัมต่อวันยังคงปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี
ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องดื่มชูกำลังอื่นๆพบว่าอาจทำให้เกิดอาการความจำไม่ดี ,
ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่ำ , เกิดความวิตกกังวล
, เห็นภาพหลอน, หัวใจเต้นผิดปกติ และมีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น และการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารกุมารเวชศาสตร์ในปี
2011 พบว่าเด็ก ๆ
จะมีความเสี่ยงต่อหัวใจผิดปกติมากขึ้นหากดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเนื่องจากมีเด็กๆมีขนาดร่างกายที่เล็กกว่าผู้ใหญ่