
เชื่อหรือไม่ว่าการทุ่มเทให้การวิ่งอย่างสุดๆเป็นสิ่งที่ดีต่อข้อต่อของคุณ
บทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการออกกำลังกายนอกบ้านที่ไม่ใช่การวิ่งบนลู่วิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายค่ะ
แน่นอนว่าข้อแก้ตัวอย่าง “ฉันวิ่งไม่ได้เพราะจะทำให้หัวเข่าเจ็บ”
หรือสารพัดข้ออ้างที่มาจากความขี้เกียจแต่เหตุผลเหล่านั้นจะเอามาใช้อีกไม่ได้แล้ว
ผู้ชายและผู้หญิงที่มีสุขภาพแข็งแรง
อายุระหว่าง 18 – 35 ปีที่วิ่งเป็นเวลา 30
นาทีจะไม่พบอาการเจ็บปวดหรือบวมที่ข้อต่อ และในความเป็นจริงการวิ่งยังช่วยลดการอักเสบอีกด้วยซึ่งยืนยันโดยผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
Brigham Young
กล่าวอีกนัยหนึ่งการวิ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและไม่จำเป็นต้องไปถึงยิมเพื่อออกกำลังกาย
แต่ยังช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคที่เกิดจากการอักเสบในร่างกาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม
ซึ่ง Sprague Davis ผู้เชี่ยวชาญด้านความแตกต่างระหว่างเครื่องวิ่งและวิ่งบนพื้นดินกล่าวว่าเมื่อวิ่งนอกบ้าน
ผู้วิ่งจะเปลี่ยนแปลงความเร็วในการวิ่งไปตามสภาพภูมิประเทศและพื้นผิวที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างหลากหลายขึ้นกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกซึ่งดีมากกว่าแรงกระทำซ้ำๆที่ทำให้เกิดความเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกายแบบลู่วิ่ง
การใช้ออกซิเจนและการเรียกใช้ใยกล้ามเนื้อ (muscle recruitment )จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อคุณวิ่งนอกบ้านเมื่อเทียบกับการวิ่งบนสายพาน นอกจากนี้แรงต้านทานลมของนักวิ่งยังทำให้พวกเขาต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นประมาณ 2 - 10 % ขึ้นอยู่กับความเร็วในการวิ่งอีกด้วย
วิธียืดกล้ามเนื้อลดอาการปวดเข่าขณะวิ่ง
เนื่องจากเท้าแต่ละข้างมีการกระทบพื้นถึงกว่า
1,000 ครั้งต่อไมล์ขณะวิ่ง ดังนั้น Davis จึงแนะนำให้เพิ่มการเหยียดและโยคะเพื่อลดอาการเกร็งและป้องกันการบาดเจ็บขณะที่คุณวิ่ง
ก่อนวิ่ง
การยืดกล้ามเนื้อแบบไดนามิกเช่น leg
swings, high knees, butt kicks และ walking
lunges จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ
หลังวิ่ง โยคะที่มีการยืดกล้ามเนื้ออย่างท่า runner’s
lunge , ท่านักรบ,ท่า supine split และท่านกพิราบจะช่วยในการเคลื่อนไหวร่างกาย
ช่วยลดอาการบวมและปวดกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพลังเพื่อต่อต้านการอักเสบ
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอย่างง่ายๆในการวิ่งที่จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดเข่า
อย่างเช่น การ ส่งแรงขึ้นมาจากข้อเท้าไม่ใช่สะโพก(เหมือนท่าเล่นสกี)
และใช้การก้าวเท้าที่สั้นลง (นับจำนวนครั้งที่เท้าของคุณสัมผัสพื้นใน 1 นาทีและวิ่งให้เท้าแต่ละข้างสัมผัสพื้นได้ 80 ครั้ง)
การศึกษาของ BYU พบว่าเมื่อเทียบกับการวิ่งแล้ว
การนั่งเป็นสิ่งที่ส่งผลร้ายต่อหัวเข่ามากกว่า ดังนั้นเลิกนั่งแช่อยู่กับที่และเริ่มต้นออกไปวิ่งได้แล้ว